วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

                                                         ลักษณะของม้า



การเลือกม้าเพื่อจะเลี้ยงไว้ดูเล่นหรือเลี้ยงไว้ด้วยเหตุผลอื่นก็ตาม วิธีเลือก (ของไทย) ที่ยอม รับกันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบันก็คือการดูลักษณะ ม้า โดยพิจารณาลักษณะดังต่อไปนี้

๑. ผิวม้า ม้ามาจากตระกูลดี และม้าลักษณะดีจะต้องมีผิวหนังบาง ขนสั้น มองเห็นรอยเส้นเลือดได้ชัดเจน เรียกว่า ม้าผิวบาง
๒. อวัยวะภายนอก ม้าที่มีกล้ามเนื้อใหญ่โต ขาใหญ่ คอหนา ศีรษะโต ม้าที่มีลักษณะเช่นนี้ เป็น ม้าแข็งแรง แต่ไม่ว่องไว เรียก ม้าทึบ
 ๓. นิสัย ม้าที่มีลักษณะหงอย ไม่ปราดเปรียว ส่วนมากมักจะแข็งแรง เรียกว่า ม้าเลือดเย็น ม้าที่มีลักษณะปราดเปรียว ส่วนมากนิสัยดี และมีสายเลือดดี เรียก ม้าเลือดร้อน
 ๔. ส่วนศีรษะ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ
            ส่วนหน้า จากตาถึงปลายจมูก
           ส่วนกระหม่อม จากตาถึงท้ายทอย
            ม้าที่ตระกูลดี ฉลาด ว่องไว และเลือดร้อนส่วนหน้าจะเล็กกว่าส่วนกระหม่อมมาก
            สันจมูก ม้าที่มีสันจมูกตรงหรือแอ่นงอนแสดงว่าเป็นม้าเลือดเย็น ม้าที่มีสันจมูกโค้งและนูนตรงกลางแสดงว่าเป็นม้าเลือดร้อน
            รูจมูก ม้าที่มีรูจมูกกว้าง มักจะเป็นม้าที่ แข็งแรง
            ปาก ม้าปากกว้าง (มุมปากอยู่ใกล้แก้ม) เป็นม้าที่แข็งแรง ม้าปากเล็ก มุมปากเล็ก (มุม ปากตื้น) มักจะเป็นม้าว่าง่าย สอนง่าย
            ตา ม้าตากลมโตจะเป็นม้าเลือดเย็น สอนง่ายม้าตาเล็กจะเป็นม้านิสัยโกง
            ขากรรไกร ม้าขากรรไกรหนาและม้าขา กรรไกรโต มักจะมีนิสัยขี้โกง เกียจคร้าน
            หู ม้าตระกูลดี ได้แก่ ม้าหนู คือ หูเล็ก บางและชิดกัน ม้าตระกูลปานกลาง ได้แก่ ม้าหูกระต่าย คือ หูเล็กแต่ยาว ม้าตระกูลไม่ดี ได้แก่ ม้าหูลา หูใหญ่ยาวปลายเรียว ม้าหูวัว หูจะสั้น หนา
๕. คอ             สันคอ ม้าที่มีสันคอบาง เป็นม้ามีตระกูลดีวิ่งเร็ว แต่ไม่ค่อยแข็งแรง ส่วนม้าที่มีสันคอหนา เป็นม้าตระกูลไม่ดี วิ่งไม่ค่อยเร็ว แต่แข็งแรง
             ผมแผง ม้าตระกูลดี ผมแผงจะมีขนเส้นบาง  ๆ ม้าตระกูล ไม่ดีผมแผงคอจะหยาบ เส้น หนา
             รูปคอ คอม้ามีรูปร่างต่างกันออกไป ซึ่งจะ เป็นลักษณะที่เป็นเครื่องสังเกตว่า ม้าจะดีหรือไม่ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด
             ม้าคอหงส์ คือลักษณะรูปคอที่โค้ง ตลอด ตั้งแต่ต้นคอจนถึง ปลายคอ ม้าที่มีคอ ลักษณะเช่นนี้ จะเป็นม้าที่วิ่งเรียบและมีฝีเท้าเร็ว ขี่สบาย
             ม้าคอตรง คือม้าที่สันคอโค้ง ส่วนใต้คอตรง มีรูปคอพอเหมาะ ม้าที่มีลักษณะเช่นนี้ จะแข็งแรง ว่องไว เหมาะแก่การขี่
๖. ตะโหงก เป็นสิ่งแสดงความแข็งแรงของม้าม้าที่ว่องไวจะมีตะโหงกสูงเด่น ส่วนม้าตะโหงกเตี้ยแสดงว่าม้าไม่แข็งแรง
๗. ส่วนหลัง เป็นส่วนที่รับน้ำหนักของคนที่นั่ง บนหลังม้า ม้าที่มีลักษณะหลังที่ยาว และอ่อน แสดงถึงว่าม้านั้นไม่แข็งแรง เพราะเมื่อใช้ขี่ หรือ บรรทุกของ จะทำให้หลังอ่อนรับน้ำหนักได้ไม่มาก ถ้าม้าที่ส่วนหลังสั้นจะทำให้ม้าเอี้ยวตัวไม่    สะดวก และเป็นเครื่องชี้ให้ทราบได้ว่าปอดม้านั้นจะไม่ใหญ่ เวลาวิ่งจะเหนื่อยเร็ว เราแบ่งลักษณะรูปส่วนหลังม้าออกเป็น :



         -  ม้าหลังโค้ง เป็นม้าที่รับน้ำหนักได้ดีมาก และมีความอดทนต่อน้ำหนักที่รับ แต่ถ้าใช้ขี่จะ กระเทือนมาก ม้าชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้บรรทุก สิ่งต่าง  ๆ
          -  ม้าหลังตรง เป็นม้าที่มีลักษณะดี เมื่อเวลา บรรทุกของ หลังจะแอ่นลงเล็กน้อย ม้าชนิดนี้รับ น้ำหนักได้ดี มีความอดทนและขี่สบาย
           - ม้าหลังแอ่น ม้าที่มีลักษณะรูปหลังแอ่นเมื่อบรรทุกของหรือรับน้ำหนักคนขี่จะทำให้หลังแอ่นมากขึ้น ม้าชนิดนี้จะรับน้ำหนักมากไม่ได้ แต่ใช้ขี่ได้เรียบสบาย

 ๘. ส่วนก้นหรือส่วนท้ายของม้า ม้าที่มีก้นหนาใหญ่ จะเป็นม้าที่มีกำลังมาก แข็งแรงและ วิ่งได้เร็ว
 ๙. หาง มีประโยชน์สำหรับป้องกันยุงและแมลง มารบกวน ฉะนั้นจึงไม่ควรตัดหางม้าให้สั้นเกินไป หางม้ายังบอกตระกูลของม้าได้ โดยดูตำแหน่ง การติดของมัน หางติดสูง คือตำแหน่งของหางจะ ติดได้ระดับเดียวกันกับก้นของม้า แสดงว่าเป็น ม้าตระกูลดี หางติดต่ำหรือหางจุกตูด เป็นม้า  ตระกูลไม่ดีไม่สวยงาม หางติดปานกลาง  แสดงว่าเป็นม้าตระกูลพอใช้ได้

 ๑๐. หน้าอก เป็นเครื่องแสดงให้ทราบว่า ม้านั้น แข็งแรงหรือไม่ แบ่งออกเป็น                                                                           - ม้าอกราชสีห์ คือ ม้าที่มีหน้าอกกว้าง มี กล้ามเนื้อมาก และกล้ามเนื้อนูนเป็นก้อนทั้งสองข้าง แสดงว่าเป็นม้าที่มีกำลังแข็งแรง มีความอดทนดี
          - ม้าอกไก่ คือ ม้าที่มีหน้าอกแคบ กล้าม เนื้อน้อยและอกนูนเป็นสันลงมา ตรงกลางดู คล้ายอกไก่ เป็นม้าที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก
          - ม้าอกแคบหรืออกห่อ คือ ม้าที่มีกล้ามเนื้ออกน้อย เวลายืนขาหน้าจะชิดกันมาก แสดงว่าไม่แข็งแรงและไม่อดทน
๑๑. สวาบ สวาบของม้าธรรมดา มักจะกว้างราว ๑ ฝ่ามือ จึงจะนับว่าพอดี ถ้าสวาบกว้างกว่านี้ ส่วนมากนับว่าไม่แข็งแรง มักจะเป็นม้าเอวบาง หรือเอวอ่อน
 ๑๒. สะบัก ม้าที่มีสะบักยาว มักวิ่งได้เร็ว เนื่องจาก ม้าเหยียดขาไปข้างหน้าได้มาก ก้าวขาได้ยาว และเร็ว สะบักม้าที่ดีจะมีความยาวเท่ากับส่วนศีรษะ หรือถ้ายาวกว่าส่วนศีรษะยิ่งดี สะบักควรจะเอน ประมาณ ๕๐-๖๐ องศากับลำตัวจึงนับว่าดี
๑๓.  ขาหน้า ขาหน้าจะต้องไม่โก่งหรือแอ่น ขาทั้งคู่ควรจะตั้งตรง จึงจะเป็นม้าที่วิ่งได้ดี ม้าที่ปลายเท้าแคบ หรือยืนบิดปลายเท้า หรือยืนขาถ่าง มักจะวิ่งไม่เร็ว
           ส่วนประกอบของขาหน้าที่ควรพิจารณาได้แก่
           - โคนขา ควรจะมีกล้ามเนื้อแข็งแรง และ ค่อย  ๆ เรียวลงมาตามลำดับ และผิวหนังบาง เห็นเส้นเอ็นได้ชัดจึงจะดี
           - หน้าแข้ง ต้องเรียวเล็กลงตามลำดับ มีผิว หนังบาง ขนละเอียด ไม่ปุกปุยและหยาบกีบ ม้าที่มีกีบเล็กจะวิ่งได้เร็วกว่าม้าที่มีกีบใหญ่ กีบที่ดีจะต้องเรียบไม่เป็นลูกคลื่น หรือมีรอยแตกร้าว
๑๔. ขาหลัง เช่นเดียวกับขาหน้า คือ ตั้งได้พอเหมาะ ขาหลังทั้งสองต้องอยู่ห่างกันพอเหมาะ เวลาม้ายืนขาหลังต้องเอนเข้าข้างในตัวเล็กน้อยและ ข้อตาตุ่มของขาหลังโตกว่าข้อตาตุ่มของขาหน้าเล็กน้อย

         


[กลับหัวข้อหลัก]

ตำแหน่งของฟันม้า
การดูแลและรักษา - - การทำความสะอาดม้า

           การทำความสะอาดม้าการทำความสะอาดม้านี้ต้องทำเป็นประจำทุกวัน เช่นเดียวกับคนที่ต้องทำความสะอาด
ตัวเอง การทำความสะอาดม้าอาจแบ่งได้ดังนี้
    ๑. การกราดม้า มีประโยชน์ทำให้ร่างกายม้าสะอาด ป้องกันโรคผิวหนังและทำให้หนังมีความสมบูรณ์ การกราดนั้นต้องใช้กราดเหล็กกราดตามคอ ตามตัว เพื่อให้ขี้รังแคออกให้หมดการใช้กราดต้องคอยระมัดระวังอย่าให้ผิวหนังม้าถลอกเพราะฟันของกราดเป็นเหล็ก ม้าเป็นสัตว์ที่มีผิวหนังบาง ดังนั้น ส่วนที่คอและท้องของม้าไม่ควรกราดด้วยกราดเหล็ก
    ๒. การแปรง จับแปรงด้วยมือขวาและถือกราด เหล็กด้วยมือซ้าย เอาแปรงขนย้อนขนไปมาจน ขี้รังแคติดที่แปรง แล้วนำแปรงมาถูกับกราด (การแปรงนี้กระทำภายหลังจากกราดแล้ว) ทำเช่นนี้ไปจนทั่วตัวม้า การยืนทำความสะอาด ผู้ที่ทำ ความสะอาด ควรยืนเหนือลม หันหน้าม้าไป
ทางทิศทวนลม (ถ้าทำได้)
    ๓. การเช็ดตัวม้า ภายหลังจากกราด และแปรงจนทั่วตัวม้าเรียบร้อยแล้ว ก็ทำความสะอาดเช็ดตัวม้าด้วยผ้าสะอาดที่บริเวณตา จมูก ปาก หู ตามใบหน้าและทั่ว  ๆ ไป อีกครั้งหนึ่ง
           การทำความสะอาดม้าที่ออกกำลังมาใหม่  ๆควรใช้ฟางหรือหญ้าถูตามตัวให้ทั่ว เพื่อให้เหงื่อที่จับตามตัวแห้งสนิท และเพื่อให้เลือดใต้ผิวหนังกระจายไป

   ๔.การนวดม้า เป็นการนวดตามกล้ามเนื้อและตามข้อต่าง  ๆ ที่เคลื่อนที่ไปมา โดยการนวดด้วย น้ำมัน ใช้สันมือถูนวดแรง  ๆ (ระวังอย่าใช้น้ำมัน ที่ร้อนเกินไป ถูนวดบริเวณผิวหนังที่บาง) การ นวดนี้ควรนวดให้ทั่ว
   ๕. การอาบน้ำม้า การอาบน้ำม้านี้ถ้าทำได้ควร  อาบน้ำม้าสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง เพื่อจะได้ทำความ สะอาดม้า ล้างฝุ่นและโคลนที่ติดตามตัว กราด แปรงไม่ออก ในการอาบน้ำม้านี้จะอาบด้วยน้ำเย็น หรือน้ำอุ่นก็ได้ แต่มีข้อระวังในการอาบน้ำม้า คือ
           (๕.๑) ถ้าลงอาบน้ำในบ่อ สระ แม่น้ำ ลำคลอง ควรจะหาที่ให้ม้าลงอาบน้ำได้สะดวก เป็นที่ ๆ ตลิ่งไม่ชัน และไกลจากสิ่งโสโครก
           (๕.๒) ที่อาบน้ำม้าไม่ควรไกลจากโรงม้า มากเกินไป เพราะการเดินไปมาอาจทำให้ม้าร้อนมากและเป็นหวัดได้
           (๕.๓) ในเวลาแดดร้อนจัดไม่ควรอาบน้ำม้า
           (๕.๔) ม้าเป็นหวัด เป็นไข้ ไม่ควรอาบน้ำ
           (๕.๕) เมื่ออาบน้ำแล้วควรเช็ดตัวให้แห้ง ระวังอย่าให้ถูกลมจัดเกินไป
   ๖. การตัดขนม้า มีประโยชน์สำหรับกราดและ แปรงได้สะดวกขึ้น และดูสวยงาม การตัดขนนี้โดยทั่วไปมักตัดกันเมื่อขนยาว แต่ทางที่ดีแล้ว
           การตัดขนม้านั้นควรตัดในฤดูหนาว เพราะว่าใน ฤดูหนาวเมื่อม้าออกกำลังแล้ว เหงื่อม้าจะไม่ซึมออกมาข้างนอก เป็นรังแคง่าย ทำให้การทำความสะอาดม้าเป็นไปด้วยความลำบากเพราะขนม้ายาว การตัดขนนี้ต้องตัดทั่วตัวม้า ถ้าหากทำได้แล้วควรตัดขนม้าปีละ ๑ ครั้ง ในการตัดขนทุกครั้งควรตัดนอกโรงม้าเพราะขนม้าอาจปลิวไป เมื่อม้าตัวอื่น  ๆ หายใจเข้าไป จะทำให้อวัยวะหายใจขอ ม้าพิการได้
   ๗. การตัดแผงคอ ผมหน้า และซอยหาง
           (๗.๑) การตัดแผงคอของม้านั้น โดยทั่วไป ดูว่าม้าตัวนั้นมีแผงคอสวยหรือไม่ เจ้าของม้าบางคนไม่นิยมไว้แผงคอม้า อาจตัดออกก็ได้
           (๗.๒) การตัดผมหน้า โดยธรรมดาทั่วไป ผมหน้านั้นป้องกันแดดส่องกระหม่อมและตา แต่ถ้าหากว่าผมหน้ายาวและหนาเกินไปก็อาจตัดและ ซอยออกได้บ้าง เพื่อความสวยงาม และไม่ให้ผมหน้าเข้าตาม้าตลอดเวลา ซึ่งมักทำให้ตาม้าเจ็บหรืออักเสบได้เสมอ  ๆ
           (๗.๓) การซอยหาง ขนหางม้ามีไว้สำหรับ ไล่แมลง แต่ถ้าหากว่ายาวเกินไปและหนา ก็อาจตัดและซอยออกเพื่อความสวยงามก็ได้ แต่ไม่ควรให้สั้นกว่าข้อน่องแหลมนอกจากนี้แล้วขนที่ควรตัด ได้แก่ เคราใต้ คางม้าควรตัดให้หมด ขนที่ใต้ข้อน่องแหลม ไรกีบ ควรตกแต่งให้สวยงาม
    ๘. การตอกกีบ เกือกม้าสำหรับม้าแข่งสำคัญมากไม่ว่าจะแข่งทางราบหรือแข่งกระโดด คล้าย  ๆ กับ นักวิ่งที่ใส่รองเท้าตะปูกับนักวิ่งเท้าเปล่า รองเท้าจะทำให้การเกาะจับพื้นดินดีขึ้น ไม่ลื่น ในการ ตอกเกือกม้านี้ต้องระวังเป็นพิเศษ ก่อนตอกดูการ เดิน หลังการตอกก็ต้องดูการเดินของม้า ดูแนว ตะปูเกือกสนิทหรือไม่ เอียงหรือตะแคงหรือไม่ความสูงเท่ากันหรือไม่ นอกจากนี้แล้วจะต้องดู ให้ปลายตะปูพับเรียบร้อยแนวเดียวกัน
    ๙. การบำรุงกีบม้า การบำรุงกีบม้าเป็นสิ่งสำคัญ มากถึงแม้ว่าม้าบางตัวกีบจะแข็ง แต่ผู้เลี้ยงบำรุงมักจะไม่เข้าใจเรื่องการบำรุงรักษากีบ ฉะนั้น
กีบม้าจึงเสียบ่อย  ๆ วิธีบำรุงกีบม้าให้ปฏิบัติดังนี้คือ
           (๙.๑) เมื่อกลับจากซ้อมหรือแข่งแล้วต้องแคะเอาดิน โคลน เศษหิน ฯลฯ ที่ติดอยู่ในกีบออกให้หมด
           (๙.๒) การล้างกีบ ถ้าใช้น้ำอุ่นได้ยิ่งดี ถ้าใช้น้ำเย็น ไม่ควรล้างเวลาที่ม้ากลับจากซ้อมหรือแข่ง ใหม่ ๆ ควรรอให้ม้าพักประมาณ ๕ นาที ก่อน
 จึงล้างกีบ
           (๙.๓) การที่จะให้ม้ากีบอ่อน เหนียว ต้อง ให้ม้าได้ออกกำลังกายทุกวันและวิ่งในที่นุ่ม  ๆ
           (๙.๔) ห้ามขี่ม้าในที่แข็ง เช่น บนถนน ไม่ ควรวิ่งเร็วเกินไป และไม่ควรผ่านพื้นที่ ที่มีก้อนหินโต  ๆ
           (๙.๕) ห้ามใช้สิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น ตะไบ กระดาษทราย ขัดถูที่ประทุน กีบ หรือพื้นกีบม้า เพราะจะทำกีบเสียและทำให้กีบแห้งแตกร้าว แต่การใส่เกือกก็ตัดแต่งได้เล็กน้อย
           (๙.๖) ม้าไม่ควรยืนบนพื้นแข็ง เช่น กระดานพื้นซีเมนต์ นาน ๆ โดยไม่มีสิ่งปูรอง เช่น ฟาง หรือหญ้า
           (๙.๗) ถ้าม้ากีบแห้ง ควรทำให้กีบม้าอ่อน โดยใช้ดินเหนียวพอก หรือเอาผ้าชุบน้ำพัน หรือให้ม้ายืนในที่แฉะ เช่น ในโคลนที่ไม่สกปรก
           (๙.๘) ไม่ควรเอาน้ำมันอย่างใดอย่างหนึ่งที่ เป็นพิษร้อนหรือยางไม้ทา
           (๙.๙) ต้องคอยระวังเปลี่ยนเกือกม้าให้ เรียบร้อยตามกำหนดของเกือกหรือถ้าตะปูหลุดหลวม หรือคลอน ก็จัดการแก้ไขทันที
           (๙.๑๐) ถ้าม้าไม่ได้สวมเกือกนาน  ๆ ควรได้ตัดแต่งกีบบ้าง เพื่อให้กีบมีรูปร่างถูกต้องเสมอคอกม้า




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น